ความพ่ายแพ้ของผู้นำในสามก๊ก : โจโฉตัดสินใจพลาดปล่อยเล่าปี่หลุดมือ

บทที่ 22
ตัดสินใจพลาดไปนิดแต่เป็นภั
ยคุกคามตลอดไป
บทเรียนผู้นำอย่าไว้ใจคนแต่
ภายนอก

สำหรับโจโฉซึ่งเป็นสุดยอดผู้นำในสามก๊ก
ทั้งยังเป็นอัจฉริยะที่หาตัวจับได้ยาก
เพราะเขาเก่งทั้งบู๊และบุ๋น
ที่สำคัญยังมีความสามารถด้านการใช้คนอย่างโดดเด่น

ทว่าเก่งกาจขนาดนี้โจโฉก็พ่ายในสมรภูมิรบหลายรอบ
แต่สุดท้ายก็สามารถยึดครองของคู่แข่ง
ทั้งจากซีกฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาล

แต่หากถามถึงความผิดพลาดชนิดใหญ่หลวงในชีวิตของโจโฉ
น่าจะมีแค่คำตอบเดียว คือ "ปล่อยเล่าปี่" ให้หลุดมือ
ทำให้เล่าปี่กลายเป็นอุปสรรคทางการเมือง
และการรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวของโจโฉและราชวงศ์วุยของเขา
ไปอีกยาวนาน

เล่าปี่ คนนี้แม้ไม่ค่อยจะเก่งทั้งบุ๋นและบู๊
เมื่อเทียบกับโจโฉ แต่คนทั้งแผ่นดินกลับเห็นว่
บุรุษผู้นี้คือยอดคนขนานแท้
(แม้จะไม่ค่อยได้เรื่องอะไรมาก)
แม้กระทั่งโจโฉก็รู้สึกเช่นนั้น

เล่าปี่พ่ายลิโป้จึงบากหน้ามาหานายกฯโจโฉ
เพื่อขอความช่วยเหลือ
จนกระทั่งโจโฉสามารถกำจัดลิโป้ได้สำเร็จ
ทางหนึ่งก็สามารถกักตัวเล่าปี่เอาไว้ในพระนครฮูโต๋

โจโฉต้องการซื้อใจเล่าปี่
หวังจะได้เล่าปี่เป็นลูกน้อ

(นั่นหมายความโจโฉจะได้ทั้ง
กวนอูและเตียวหุย
น้องร่วมสาบานของเล่าปี่มาเ
สริมความแกร่ง)
ด้วยการพาเล่าปี่ไปเข้าเฝ้า
พระเจ้า
แต่สิ่งที่โจโฉเกิดอาการเข็
มขัดสั้นหรือคาดไม่ถึงก็คือ
เล่าปี่ที่ชอบพูดประจำว่าตน
เองเป็นเชื้อเจ้า
(โจโฉคงจะลืมว่าเจ้าศาลไหน)


เมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ตรัสถาม
เล่าปี่ถือโอกาสแนะนำตนเองว่าเป็นบุตรเล่าเหงที่สืบเชื้อจาก
จงซานจิ้งอ๋อง เป็นโอรสองค์ที่7 ของพระเจ้าฮั่นเกงเต้
พระเจ้าเล่าเสี้ยนสั่งตรวจสอบทันที
ปรากฏว่า "ใช่เลย" พระเจ้าเหี้ยนเต้ดีพระทัยมา
ลำดับญาติเสร็จจึงพบว่าเล่าปี่เป็นอาของตน

ทำให้เจ้าปลายแถวกลายเป็นสมเด็จพระเจ้าอาเล่าปี่
ยกฐานะอดีตคนสานรองเท้าฟางขึ้นมาเป็นพระญาติชั้นผู้ใหญ
เล่นเอาโจโฉหน้าชา เพราะไม่คิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้น
แต่ก็พยายามฝืนยิ้มแสดงความยินดีกับเล่าปี่
ทั้งที่ในใจเริ่มระแวง

จากนั้นชื่อเสียงของเล่าปี่ก็โด่งดังเป็นพลุแตกในราชสำนัก
มีแต่คนเคารพยกย่องในความเป็นสมเด็จพระเจ้าอา ผู้มากคุณธรรม
ส่งผลให้ทางฝ่ายเสนาธิการของโจโฉต้องประชุมเครียด
ในหัวข้อ "กำจัดเล่าปี่ดีหรือไม่" ทุกคนต่างลงมติว่า
ควรส่งสมเด็จพระเจ้าอา ไปสร้างคุณธรรมต่อบนสวรรค์

ทว่ากุยแกที่ปรึกษาหนุ่มผู้มากปัญญาของโจโฉกลับมองว่า
ทำเช่นนั้นไม่ได้ แผ่นดินจราจล วุ่นวาย ภารกิจของเราคือรวมแผ่นดิน
เล่าปี่คือเครื่องมือในการสร้างภาพลักษณ์ของนายท่าน
ทำให้คนทั้งปวงเห็นว่านายท่านมีเมตตา
แม้กระทั่งเจ้าไม่มีศาล นายท่านยังหาศาลให้อยู่
อุปถัมภ์ค้ำชูจนได้เป็นพระญาติชั้นผู้ใหญ่
หากเรากำจัดเขาในตอนนี้ภาพของนายท่านจะเสียหาย
(เพราะเดิมก็เสียมากอยู่แล้ว)
ฉะนั้นเราควรต้องเลี้ยงดูเล่าปี่อย่าให้ไปไกลหูไกลตา
เช่นนี้แล้วทุกอย่างก็จะดี

โจโฉได้ฟังเช่นนั้นก็พูดว่า
"ท่านนี่กล่าวจรงใจข้าพเจ้า"
ทำให้เล่าปี่รอดพ้นจากอุ้งเล็บเสนาธิการของโจโฉ

ที่สำคัญเล่าปี่ก็เป็นคนเล่นละครเก่ง
แม้ลึกๆอยากกระซวกโจโฉเพื่อกอบกู้ราชวงศ์ฮั่น
แต่เมื่อยู่ต่อหน้าก็ตีบทมิตรแท้ได้น่าชมเชย

จนกระทั่งข่าวอ้วนสุดจะยกพลขึ้นเหนือไปรวมพลกับอ้วนเสี้ยว
ทำให้โจโฉคิดไม่ออกว่าจะส่งใครเป็นแม่ทัพเพราะ
โจโฉเริ่มระแวงสงสัย
ขุนนางในราชสำนักบางคนที่กำลังจะทรยศตน
จึงจะแต่งตั้งแม่ทัพออกศึก
เล่าปี่เห็นเป็นโอกาสตีจากโจโฉ
จึงขออาสาตอบแทนบุญคุณท่านนายกฯ
ที่ชุบเลี้ยงจากเด็กทอเสื่อให้กลายเป็นพระญาติชั้นผู้ใหญ่

โจโฉเชื่อใจเล่าปี่จึงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าอาเป็นแม่ทัพ
ชูธงฮั่นปราบกบฎอ้วนสุด
ทำให้เล่าปี่ได้มีโอกาสเดิน
ทางเป็นอิสระ
ไม่ต้องใส่หน้ากากพินอบพิเท
าโจโฉ

จากนั้นเล่าปี่ก็ตั้งตัวเป็นปรกปักษ์
กลายเป็นศัตรูทางการเมือง
กลายเป็นผู้นำฝ่ายค้านตลอดกาลของโจโฉ

ความผิดพลาดครั้งนี้ของโจโฉ
นับว่าใหญ่หลวงมากเพราะเขาได้ปล่อยเล่าปี่ออกจากกรง
แม้เล่าปี่จะไม่เก่งกาจเท่าโจโฉ
ไม่ได้มีอำนาจล้นฟ้าเหมือนโจโฉ

แต่ในแง่คุณธรรมเขามีภาพลักษณ์ที่ดีกว่าโจโฉ
ทั้งยังเป็นสมเด็จพระเจ้าอาของพระเจ้าเหี้ยนเต้
คำพูดของเล่าปี่ทุกคำจึงมีน้ำหนักและน่าเชื่อถือ
เพราะภาพลักษณ์ของเล่าปี่คือนักการเมืองมือสะอาด
(แม้จะไม่เคยพัฒนาหรือสร้างสรรค์อะไรให้กับประเทศ)
ทว่าคนก็นิยมชมชอบ

คราวนี้เล่าปี่แยกวงก็สามารถโจมตีโจโฉ
ปล่อยข่าวลวง ข่าวจริง
โฆษณาชวนเชื่อให้คนต่อต้านรัฐบาล
ดิสเครดิตโจโฉไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง

ทั้งหลายทั้งปวงต้องยกให้เป็นความผิดพลาดของโจโฉ
ที่ประมาทมองคนแต่ภายนอก
เห็นเขาอ่อนน้อม ก็คิดว่าเขาหัวอ่อน
เห็นเขาพินอบพิเทาไม่ขัดขืน ก็พลอยคิดว่าเขาเชื่อฟัง

ในชีวิตจริงก็เช่นกัน
ผู้บริหารหลายคนมองคนแต่ภาย
นอก
บางคนอาจจะบอกว่าฉันมีศาสตร
์ในการอ่านคน
ไม่ว่าจโหงวเฮ้ง ,DISC , นรลักษณ์ หรือจะอะไรก็ตาม
มันก็แค่จำแนกได้แค่ภายนอกเ
ท่านั้น

กระบวนการอ่านคนในทางลึกแบ่งเป็น 3 ชั้น
1.คือการจำแนกให้ออกว่าเขาเป็นคนเช่นไร
2.ดูให้ลึกว่าเขาเป็นคนแบบไหน(อุปนิสัยฉ้อฉลคดโกง,ซื่อสัตย์ ฯลฯ)
3.สำคัญมากคือเขาคิดอย่างไรกับคุณ

คนส่วนใหญ่มองคนชั้นแรกเพื่อจำแนกความเหมาะสมในการทำงา
แต่เราไม่รู้เลยว่าภายใต้การทำงานที่ดีนั้นมีความฉ้อฉล ,คดโกง อยู่หรือไม่
เพราะเรามองไม่ถึงชั้นที่2 ซึ่งอยู่ลึก
เหล่าปราชญ์จีนโบราณจึงให้เครื่องมือตรวจสอบ
เพื่อทำให้คุณได้เห็นบางสิ่งในมุมมืด

สุดท้ายคือการมองลึกไปในชั้นที่3
คือเขาคิดอย่างไรกับคุณ
เพราะมันเป็นเรื่องยากมาก
เครื่องมือการอ่านคนทั้งศาสตร์ตะวันตกและตะวันออก
ที่มีก็ยังไม่ลึกพอที่จะอ่านใจอีกฝ่าย

แต่ไม่ได้หมายความว่าจะอ่านไม่ได้
หากคุณมีประสบการณ์ในการพบปะผู้คน
หรือได้เจอคนมากมาย แลกเปลี่ยนความรู้กันบ่อย
ทักษะนี้จะเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่รู้ตัว

สำหรับผู้บริหารแล้ว
ผมคิดว่ากระบวนการอ่านคนในทางลึกเป็นสิ่งสำคัญ
ไม่ควรมองข้ามทักษะด้านนี้
หรือคุณคิดว่าไม่จริง

ขอบคุณข้อมูลจาก อ.เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป ผู้เชี่ยวชาญสามก๊ก