ความพ่ายแพ้ของผู้นำในสามก๊ก : ความผิดพลาดของเล่าปี่

บทที่ 25
ความผิดพลาดของเล่าปี่ 
การตัดสินใจโดยพลการของกวนอ

แม้เล่าปี่แสดงความสามรถฮุบกองทัพ 50,000 นายของโจโฉมาเป็นของตนเอง
โดยไม่ต้องเปลืองแรงปฎิวัติหรือยึดอำนาจ
นับว่าเป็นสุดยอดการบคือ "ชนะโดยไม่ต้องรบ"
หรือ"ยึดครองโดยไม่ต้องเสียไพร่พล"



ทว่าทั้งกวนอูและเตียวหุย2 พี่น้องร่วมสาบานเข้าไม่ถึงแก่นแนวคิดนี้
อาศัยแต่การใช้กำลังและความกล้าหาญพิชิตข้าศึก
จนสร้างความปวดขมับให้เล่าปี่
เนื่องจาก กวนอูไปสืบรู้ว่า
"กีเมา". เจ้าเมืองชีจิ๋ว และเป็นขุนพลคนโปรดของโจโฉ
ได้รับคำสั่งจากเจ้านายให้สังหารเล่าปี่

ทว่าแผนรั่วเพราะกีเมาไปปรึกษาคนที่ไม่ควรปรึกษา
นั่นคือพ่อลูกตระกูลตัน อดีตลูกน้องเก่าของเล่าปี่
แทนที่จะได้ปาดคอเล่าปี่
กลับกลายเป็นถูกกวนอูปาดคอ


พอเล่าปี่รู้เรื่องนี้ก็ตกใ
หากเรื่องนี้เกิดจากเตียวหุยก็ยังพอเข้าใจได้
แต่คนลงมือครั้งนี้กลับเป็นกวนอู
ที่ดูแล้วน่าจะฉลาดกว่าเจ้าน้องสามแห่งสวนท้อ
แต่กลับทำงานใหญ่ของเล่าปี่พลาดซะเอง

แต่เล่าปี่ยังมีความหวังอยู่ว่า
แม้กีเมาตาย แต่ถ้าครอบครัวเขายังอยู่
ก็น่าจะมีประโยชน์อะไรบ้างในการประสานรอยร้าวระหว่างตนกับนายกฯโจ
จึงถามถึงครอบครัวของกีเมา
กวนอูบอกว่า
"ข้าให้น้องสามไปฆ่าหมดแล้ว
จะได้ไม่เป็นเสี้ยนหนามของเรา"

เล่าปี่ได้แต่ส่ายหน้าแล้วอุทานว่า"กรรม"
"พวกเจ้าฆ่ากีเมาขุนพลหัวแก้วหัวแหวนของโจโฉ
แล้วถ้าโจโฉยกทัพมาเราจะทำอย่างไร
สภาพตอนนี้เราก็ไม่พร้อมรบ"

พ่อลูกตระกูลตันจึงเสนอให้เล่าปี่
เดินเกมผูกมิตรกับอ้วนเสี้ย

เพื่อเดินเกมปิดล้อมโจโฉ
ใช้ยุทธศาสตร์ "ฝ่ายค้าน" ล้อมรัฐบาล
เล่าปี่ถึงบางอ้อทันที


ในตอนนี้โชคดีที่เล่าปี่มีพ่อลูกตระกูลตันช่วยออกความคิด
ถ้าจะหวังพึ่งน้องชายสองคน เล่าปี่อาจจะเครียดมากขึ้น
เพราะทั้งสองคนไม่ค่อยจะชำนาญการใช้ความที่แยบยลด้วยกลอุบาย

จุดที่น่าสนใจของเรื่องนี้คือ
การกระจายอำนาจ ครับ
เล่าปี่ให้อำนาจกับกวนอูและเตียวหุยมากเกินไป
จนนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า
"การกระทำโดยพลการ"
คือการลงมือโดยปราศจากคำสั่
ซึ่งในความจริงกวนอูไม่จำเป็นต้องสังหารกีเมาก็ได้

แค่ส่งม้าเร็วไปแจ้งเล่าปี่ให้ทราบ
อุบายบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่นจากเล่าปี่ก็จะออกมาทันที
แต่กวนอูเลือกที่จะลงมือโดยพลการ
อาศัยเหตุว่าฉุกเฉินจึงตัดสินใจอย่างเฉียบขาด

ในมุมการบริหารผมมองว่า
การกระจายอำนาจเป็นเรื่องดี
เพราะเป็นแนวทางในการพัฒนาอ
งค์กร
ไปสู่ความยั่งยืน


แต่การอาศัยอำนาจดังกล่าวไปใช้โดยพลการ
หรือใช้เกินขอบเขตอำนาจของต
ผมถือว่าไม่เหมาะสมครับ
เพราะเช่นนั้นระบบจะไม่เป็นระบบ

คุณผู้อ่านลองคิดดูนะครับ
หากทุกคนสามารถอ้างความหวังดีเพื่อองค์กร
แล้วตัดสินใจหรือลงมือทำโดยพลการ
ภายในองค์กรจะปั่นป่วนขนาดไหน

มันก็เหมือนหัวหน้างานคนหนึ่ง
ที่เห็นพนักงานในแผนกอื่น
ทำงานไม่ดีก็ด่าหรือตำหนิอย่างรุนแรงแล้วอ้างว่าทำเพื่อองค์กร
แทนที่จะไปแจ้งให้หัวหน้างานของพนักงานผู้นั้นทราบ
แล้วให้เขาดำเนินการกันเอง
แต่คุณกลับไม่ทำและเลือกที่จะไปด่าหรือตำหนิพนักงาน
แล้วอ้างว่าทำเพื่อองค์กร

ฉะนั้นอย่าใช้อำนาจจนเลยขอบเขตครับ
เพราะมันจะทำให้คนอื่นรู้สึกอึดอัด
และไม่อยากร่วมงานกับคุณ
เนื่องจากคุณชอบก้าวล่วงคนอื่นมากเกินไป

ขอบคุณข้อมูลจาก อ.เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป ผู้เชี่ยวชาญสามก๊ก