ความพ่ายแพ้ของผู้นำในสามก๊ก : จุดจบซุนเซ็ก

บทที่ 19
จุดจบซุนเซ็ก
ความใจร้อนที่ทำลายชีวิตตนเอง


ซุนเซ็กถูกลอบทำร้ายจนอาการสาหัส
หมอที่มารักษาบอกว่าสมควรให้ผู้ป่วย
พักฟื้น 100 วันอาการ ภายใน100วันห้ามเครียด
ห้ามมีโทสะเพราะพิษจะกำเริบถึงแก่ชีวิต

ซุนเซ็กสามาถทำได้ 20 กว่าวัน
เริ่มเบื่อที่จะหยุดยาวจึงเริ่มมาทำงาน
ขณะทึ่อยู่บนหอรบ
ได้ยินเสีบงทหารพูดว่า
"ท่านนักพรตอเกียดมาถึงแล้ว รีบลงไปกราบไหว้กัน"
ไม่เฉพาะแต่ทหาร แม้กระทั่งแม่ทัพและขุนนางฝ่ายบุ๋นก็ไปด้วย
สร้างความไม่พอใจให้กับซุนเซ็กเป็นอย่างยิ่ง
ที่เห็นผู้คนงมงายกันเช่นนั้น

จึงให้ทหารไปกุมตัวอิเกียดขึ้นมา
ทหารที่ไปก็ไม่กล้าเผชิญหน้าอิเกียด
ได้แต่เชื้อเชิญอิเกียดไปสนทนากับซุนเซ็ก

เมื่อทั้งสองเผชิญหน้ากัน
ซุนเซ็กก็กล่าวว่า. อิเกียดเป็นพวกต้มตุ๋น
อาศัยความเชื่อ สอนให้คนงมงาย
อิเกียดจึงชี้แจงว่าตนเองเป็นหมอที่ได้ตำรายามาจากท่านเซียน
(เหมือนเตียวก๊ก ผู้นำสูงสุดของโจรโพกผ้าเหลือง)
จึงนำความรู้มารักษาผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก

ซุนเซ็กได้ฟังเช่นนั้นก็โกรธ
สั่งทหารให้เอาตัวอิเกียดไปประหาร ฐานหลอกลวงผู้คน
ทว่าเหล่าขุนนางจำนวนมากต่างทัดทาน
คุกเข่าขอชีวิตอีเกียด
ซุนเซ็กเห็นแก่เหล่าขุนนางจึงสั่งให้นำตัวอิเกียดไปคุมขัง

ตกเย็นจึงนำเรื่องนี้ไปเล่าให้ง่อก๊กไท่ ผู้เป็นมารดาฟัง
ก๊กไท่นั้นศรัทธาในตัวอิเกียดมาก
จึงตำหนิซุนเซ็กว่าทำไม่ถูกและแนะให้ไปขอขมาท่านเซียน
ทำให้ซุนเซ็กโกรธมากขึ้น

ประจวบกับช่วงนั้นเมืองกังตั๋งฝนแล้ง
ซุนเซ็กจึงให้ทหารไปบอกอีเกียดว่า
" ถ้าเจ้าเรียกฝนมาได้ก็จะปล่อยตัวไป"
อิเกียดตกลงทำพิธีเรียกฝน แต่ก็ประกาศพยากรณ์ชะตาตัวเองกับชาวเมืองที่มาเฝ้าดูว่า บัดนี้ความตายได้มาถึงตัวเราแล้ว ไม่มีผู้ใดมาช่วยให้รอดชีวิตได้ ซุนเซ็กให้ทหารขนเอาฟืนกับฟางมาสุมไว้ใต้โรงพิธี ถ้าพ้นเที่ยงวันหากฝนยังไม่ตก ก็ให้จุดเพลิงเผาอิเกียดไอ้คนลวงโลก

ครั้นเวลาเที่ยงวันฝนไม่ตก
ซุนเซ็กจึงร้องด่าอิเกียดว่าเป็นคนลวงโลก ให้ทหารจับตัวอิเกียดมัดไว้บนกองฟืนแล้วจุดไฟเผา
พอเพลิงเริ่มลุกโหม ฝนตกหนักดับเพลิงที่เผาอยู่จนดับสิ้น

อิเกียดร้องให้ฝนหยุดตก ฝนก็หายไปทันที ขุนนางกับราษฎรเห็นกับตาว่าอีเกียดทำการอัศจรรย์ ต่างพากันลุยโคลนเข้าไปแก้มัดอิเกียด
คำนับกราบไหว้แล้วอุ้มตัวออกมา

ซุนเซ็กเห็นเช่นนั้นก็ยิ่งโกรธและริษยาอิเกียดแล้วตะโกนไปว่า
ร้องว่าที่ฝนตกก็ด้วยอำนาจของเทพยดา
หาใช่ความเก่งกาจของอิเกียดไม
่ อิเกียดเป็นคนโกหก ซุนเซ็กจึงสั่งให้จับอิเกียดฆ่าเสีย นำศพไปประจานไว้ที่ทางสามแพร่ง
มิให้ผู้ใดทำตัวเป็นเยี่ยงอย่างสืบไป

ภายหลังจากซุนเซ็กฆ่าอิเกียดตายแล้ว เกิดสติคลุ้มคลั่งเห็นภาพอิเกียดมาหลอนหลอกตลอดเวลา
ขุนนางกับราษฎร รวมทั้งมารดาและนางไต้เกี้ยวภรรยา
ต่างเชื่อว่าที่ซุนเซ็กเป็นเช่นนี้เนื่องจากไปล่วงเกินท่านเซียน

ทว่าซุนเซ็กก็ยืนยันจนนาทีสุดท้ายว่า
ที่ตนเองตายสาเหตุ มิใช่มาจากสั่งฆ่าอิเกียด
แต่เพราะเขาชะตาถึงฆาต

ผมชอบสามก๊กในตอนนี้มาก
เพราะมันเป็นการปะทะกันระหว่างความเชื่อและความจริง
และสะท้อนมุมมองมากมายในเรื่องนี้
เช่นถ้าเรามองในประเด็นสุขภาพจะพบว่า
ซุนเซ็กไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
ทำให้พิษกำเริบ
ที่สำคัญพิษที่ซุนเซ็กได้รับก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นพิษประเภทไหน
ทำให้สันนิษฐานว่าภาพหลอนที่เขาเห็น
เกิดจากพิษที่กำเริบและส่งผลต่อสมอง
ทำให้เห็นภาพหลอนต่างๆ
จนทำให้ซุนเซ็กต้องจบชีวิตไปอย่างเสียดาย

ถ้ามองในมุมความเชื่อของคนยุค1,600 ปีก่อน
ก็ต้องเชื่อว่าซุนเซ็กตายเพราะล่วงเกินท่านเซียนอิเกียด
ส่วนภาพหลอนที่เห็นเกิดจากคำสาปของอีเกียด

ประเด็นต่อมา
เหตุผลที่ซุนเซ็กฆ่าอิเกียด
ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าอิเกียดไม่ได้หลอกลวง
สิ่งนี้เราเรียกว่า "การคาดคะเน"
แม้อิเกียดจะยังไม่ได้ทำความผิด
แต่ในอนาคตไม่มีอะไรเป็นหลักประกันว่า
เขาจะไม่กบฎ

ประวัติศาสตร์สอนซุนเซ็กว่า
เมื่อก่อนเตียวก๊กก็เป็นคนดี ช่วยเหลือชาวบ้าน
จนชาวบ้านต่างศรัทธา
จนทำให้เตียวก๊กคิดการใหญ่ล้มล้างราชวงศ์ฮั่น

อิเกียดก็ไม่ต่างจากเตียวก๊ก
ที่ทำตัวเป็นคนดี ช่วยเหลือผู้อื่น
แต่น้ำใจคนยากจะหยั่ง
ขนาดขุนนางของซุนเซ็กที่ร่วมเป็นร่วมตายกันมาในสมรภูมิรบ
ยังกล้าคุกเข่าร้องขอชีวิตอีเกียด
ใจคนจำนวนมากโอนเอียงไปทางอิเกียด
นี่คือสิ่งที่ผู้นำอย่างซุนเซ็กวิตกกังวล
และต้องรีบตัดไฟตั้งแต่ต้นลมนี่คือการคาคคะเนของซุนเซ็ก

แต่เขาไม่สามารถอธิบายเหตุผล
ที่ฆ่าอิเกียดเพราะการคาดคะเน ได้
เพราะความผิดของท่านเซียนยังไม่ปรากฎ
จะนำไปสู่กระบวนการยุติธรรมหรือตัดสินแบบนิติรัฐก็ไม่ได้
ซุนเซ็กจึงใช้อำนาจตนเองในฐานะผู้นำรัฐ(โบราณ)

การคาดคะเนของซุนเซ็กแม่นยำหรือไม่
ผมคงไม่กล้าฟันธง
แต่นับจากนั้นไปก็ไม่มีพวกนักพรตแบบอิเกียดปรากฎตัวในง่อก๊ก
ทำให้การปกครองของซุนกวน(ผู้สืบทอดของซุนเซ็ก)
เป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรคจากพวกอ้างความเชื่อ
เข้ามาหารับประทานในราชสำนักง่อก๊ก

สำหรับผู้นำ ผมถือว่าเป็นข้อคิดครับ
เพราะการคาดคะเนก็เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์
ผู้นำที่เก่งคือคนที่คาคคะเนแม่นยำ
แม้เหตุการณ์เหล่านั้นจะยังไม่เกิด

ทว่าในยุคนี้ถ้าคุณทำแบบตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
ผมเชื่อว่าคงไม่มีใครชอบ
ฉะนั้นสำหรับผู้นำจึงต้องมีกลยุทธ์สนับสนุนการคาดคะเน
เช่นทำให้คนๆนั้นกลายเป็นคนอื้อฉาว
หม่นหมอง เสียภาพลักษณ์
หมดความน่าศรัทธาในสายตาคนทั่วไป
จากนั้นจึงค่อยหาเรื่องลงดาบหรือปลดออก

แต่ถ้าเบาหน่อยก็ควรใช้วิธีประกบ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ
ถ้าเขายังไม่ได้ทำผิดก็ถือว่าโชคดีไป
แต่เมื่อใดที่มีความผิดปรากฎ
ก็ใช้สิ่งนี้เป็นข้ออ้างในการลงดาบหรือปลดออก
เพียงเท่านี้ผู้นำก็ไม่ต้องสูญเสียความน่าเชื่อถือ
และทั้งหมดคือกลยุทธ์บริหารคนจากตำราจีนโบราณ

เหมือนที่คุณคาคคะเนใครบางคนในผู้ถือหุ้นว่าสักวัน

หากวันหนึ่งมันคิดการใหญ่หรือส่งเสริ

ฆ่าผู้บริสุทธ์ร้อยคนดีกว่าปล่อยคนผิดเพียงคนเดียว

ขอบคุณข้อมูลจาก อ.เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป ผู้เชี่ยวชาญสามก๊ก