ความพ่ายแพ้ของผู้นำในสามก๊ก : ยีเอ๋ง เย้ยฟ้า แก้ผ้าด่าโจโฉ

บทที่ 20
ยีเอ๋ง เย้ยฟ้า แก้ผ้าด่าโจโฉ
เทคนิคการกำจัดคนดีมีชื่อเสียงของผู้นำ


ก่อนโจโฉจะเปิดฉากประกาศศึกยุทธการกัวต๋อ
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาแนวร่วมต่อจ้านอ้วนเสี้ยว
หนึ่งในแนวร่วมที่โจโฉเล็งอยู่ก็คือเล่าเปียว ผู้ครองแคว้นเกงจิ๋ว

ขงหยงที่ปรึกษานายกฯโจ
ถือโอกาสสนับสนุนนักปราชญ์หนุ่มเพื่อนรุ่นน้องเขานามยีเอ๋ง
ด้วยการเขียนฎีกากราบทูลให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ว่า

"ข้าพเจ้าขงหยงขอกราบทูลให้ทราบ
ด้วยยีเอ๋งคนหนึ่งอายุยี่สิบปี อยู่ในเมืองหล่อ
มีสติปัญญารู้หลักมาก
จักษุแลไปเห็นสิ่งใดแลหูได้ยินเสียงอันใด
ใจนั้นก็คิดตลอดไม่ขัดขวาง
ประมาณการถูกทุกประการ
ขอให้เอายีเอ๋งมาใช้ราชการ
แต่งให้ไปเกลี้ยกล่อมเล่าเปียวเห็นจะได้โดยง่าย”

พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงโปรดเกล้าให้ยีเอ๋งเป็นขุนนาง
โจโฉจึงเรียกยีเอ๋งมาสอบสัมภาษณ์
นายกโจฯแสร้งนิ่ง เพื่อดูอากัปกริยาของยีเอ๋ง
เจ้านักปราชญ์หนุ่มเห็นเช่นนั้นก็ไม่พอใจแล้วรำพึงออกมาว่า

"เสียดายยิ่งนัก ทอดตาทั่วแผ่นดินกว้างใหญ่ แลไม่เห็นคนดีมีสติปัญญาแม้แต่สักคน"

โจโฉได้ฟังจึงท้วงว่า
"แผ่นดินเรานี้ที่ปรึกษาแลทหารที่มีฝีมือก็มีเป็นอันมา
เหตุไฉนตัวจึงว่าไม่มีคนดี"

ยี่เอ๋ง คิดในใจว่าเข้าทางกูจึงบอกว่า
"ไหนลองเอ่ยนามให้ข้าพเจ้าฟังหน่อยเป็นไร"

โจโฉจึงบอกว่า
"ซุนฮก ซุนฮิว กุยแก เทียหยก ทั้งสี่คนนี้เป็นที่ปรึกษาซึ่งมีสติปัญญาเป็นอันมาก ส่วนทหารเอกที่มีฝีมือนั้นคือเตียวเลี้ยว เคาทู ลิเตียน งักจิ้น ทั้งสี่คนนี้มีฝีมือกล้าแข็งในการสงครามฯลฯ" โจโฉพรรณามามากมาย

ยีเอ๋งฟังแล้วก็หัวเราะชอบใจแล้วกล่าว่า

"ซุนฮกนั้นหน้าเหมือนหนึ่งจะร้องไห้ชอบแต่ให้เยี่ยมไข้ส่งสักการศพ"
"ซุนฮิวนั้นชอบแต่ให้เป็นสัปเหร่อรักษาศพ"
"เทียหยกนั้นชอบแต่ใช้ให้เฝ้าจำหล่อ"
"กุยแกนั้นชอบแต่ให้แต่งโคลงแลอ่านบัตรหมาย"
"เตียวเลี้ยวนั้นชอบแต่ให้ตีกลองแลระฆัง"
"เคาทูนั้นชอบแต่ให้เลี้ยงวัวแลม้า"
"ลิเตียนนั้นชอบแต่ให้อ่านฟ้อง"
"งักจิ้นนั้นชอบแต่ให้เดินหมาย"
"ลิยอยนั้นชอบแต่ใช้ให้ชำระอาวุธ"

โจโฉเป็นคนรักลูกน้องแต่ยีเอ๋งมาบังอาจด่าลูกน้อง
ชนิดเสียคนถึงขนาดนี้จึงโกรธแต่พยายามข่มใจ
แล้วตัวท่านล่ะมีความรู้สิ่งใด

"ตัวเรานี้มีความรู้เจนจบทั้งเดือนดาวในนภากาศ
ปรัชญาศาสนา ลัทธิ ล้วนรู้แจ้งหมด แม้ในการปกครองแผ่นดินเราก็สามารถถวายคำแนะนำให้ฮ่องเต้ สามารถอบรมแนะนำประชาราษฎรทั่วแผ่นดินเหมือนกับขงจื๊อก็ได้ ฉะนี้แล้วท่านจะเอาตัวเราไปเปรียบเทียบกับคนสามัญได้อย่างไร"

ในขณะนั้นเตียวเลี้ยวยืนฟังคำยีเอ๋งอยู่ก็โกรธตาม ถอดกระบี่ออกจากฝักจะฟันยีเอ๋งเสีย แต่โจโฉก็ห้ามเตียวเลี้ยวไว
แล้วจึงบอกับยี่เอ๋งว่า
"เมื่อท่านเก่งเช่นนั้นตอนนี้ทางราชการขณะนี้ยังขาดคนตีกลองต้อนรับแขกดังนั้นข้าจะให้เจ้ารับหน้าที่นี้ไป"

ยี่เอ๋งก็นิ่งไม่ตอบ
พอถึงวันที่มีงานเลี้ยงในจวนมหาอุปราช
เสียงกลองดังกระหึ่ม ด้วยจังหวะที่ไพเราะ
ทั้งเสียงทุ้มก็กังวานฟังฮึกเหิม
พอเสียงเบาก็ราวกับการต่อกระซิบ
ยีเอ๋งทำหน้าที่ตีกลองได้อย่างยอดเยี่ยม จนเรียกว่าไร้ที่ติ
ทุกคนปรบมือให้กับมือกลอง

ทว่าชุดที่มือกลองใส่มันช่างเก่าราวกับยาจกขอทาน
ขุนนางคนหนึ่งจึงบอกว่า
ชุดมีตั้งเยอะไฉนเอาชุดพรรคกระยาจกมาใส่ สกปรกสุดๆ
ยีเอ๋งได้ฟัง จึงรำพึงว่าเช่นนั้นถ้ามึงต้องการความสะอาดแบบโอโม
กูจัดให้ ว่าแล้วยีเอ๋งก็แก้ผ้ากลางงานเลี้ยง

โจโฉถึงกับทนไม่ไหวต้องปิดต
แล้วบอกว่า "มึงเป็นบ้าไปแล้วหรอถึงมาทำอุจาดในงานนี้"
ยีเอ๋งตะโกนไปว่า "ร่างกายนี้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยบิดามารดาให้กำเนิด
หาใช่โสโครกเหมือนใครบางคน"

โจโฉจึงถามกลับไปว่า
"มึงว่าใครโสโครก"
ยี่เอ๋งรอจังหวะนี้มานานจึงสวนไปว่า
"ไม่เข้าใจหรือว่ากูด่าใคร
กูจะพรรณนาความโสโครกของมึงให้ฟัง
ประการหนึ่งมึง ไม่รู้จักคนดีแลชั่ว จักษุของมึงนั้นเป็นสิ่งโสโครก ประการที่สองซึ่งผู้ใดมีใจสัตย์ซื่อ เห็นว่าตัวทำการหยาบช้า ห้ามปรามตัวโดยสุจริต มึงมิได้ฟัง หูของมึงเป็นที่โสโครก ประการที่สามมึงมิได้โอบอ้อมอารีต่อขุนนางแลหัวเมืองทั้งปวง แล้วตัวคิดอ่านทำการหยาบช้า ให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ได้ความเดือดร้อน ใจของมึงก็เป็นการโสโครก"

โจโฉนับความโสโครกได้ 3 อย่างในร่างกายจึงให้ทหารไปหิ้วปีกยี่เอ๋ง
พร้อมทั้งบังคับให้ไปเป็นทูตเกลี้ยกล่อมเล่าเปียวที่เกงจิ๋ว
แม้ยี่เอ๋งจะไม่อยากไปก็ขัดไม่ได้
เพราะโจโฉเอาชีวิตของครอบครัวยี่เอ๋งเป็นเครื่องต่อรอง

ยี่เอ๋งไปถึงเกงจิ๋วคารวะเล่าเปียวตามพิธี
จากนั้นจึงเจรจาความแบบกวนประสาท ตามสไตล์
เล่าเปียวจึงบอกว่าเช่นนั้นเชิญท่านผู้ชาญฉลาดไปเกลี้ยกล่อมหองจอเถิด
หองจอว่าเช่นไรเราก็ทำตาม

เมื่อยี่เอ๋งมาพบกับหองจอก็ตีสำนวนกวนประสาทในงานเลี้ย
หองจอได้ฟังเช่นนั้นก็ไม่ต้องเรียกทหารเข้ามากุมตัว
ฉับพลันนั้นก็ดึงกระบี่เสียบยี่เอ๋งทะลุอก
ปิดฉากชีวิตปราชญ์ผู้ชาญฉลาดในสามโลก

สามก๊กตอนนี้หลายคนจะมองว่ายี่เอ๋งเสียแรงเป็นปราชญ์
แต่ต้องมาตายเพราะปากตนเอง
ส่วนตัวของผม
การเปลือยกายตีกลองของยี่เอ๋ง
มีประเด็นที่น่าคิด
ทำไมคนเป็นปราชญ์จึงทำเรื่องอุจาดเช่นนี้

สำหรับผมยี่เอ๋งคือคนกล้า ที่ไม่กลัวตาย
ในราชสำนักจะมีใครกล้าเหยียดหยามโจโฉได้เช่นนี้
ปราชญ์หญู(ปราชญ์สายขงจื๊อ)
ถือเรื่องมารยาทความสำรวม
แต่สิ่งที่เหนือกว่านั้นคือคุณธรรมความถูกต้อง

ขุนนางส่วนใหญ่ต่างกลัวตายจนละเลยคุณธรรมข้อนี้
รักษาได้แค่มารยาทและความสำรวม
ก้มหน้ารับใช้โจโฉ (ในมุมของยี่เอ๋งโจโฉคือกังฉิน)
กดขี่ราชวงศ์ฮั่นทั้งที่ทุกคนเป็นข้าราชสำนักฮั่น
ซึ่งเป็นคุณสมบัติของปราชญ์หญูจอมปลอม

ยี่เอ๋งเป็นปราชญ์ทำไมจะไม่รู้
และยิ่งรู้ใหญ่ว่าโจโฉมีอำนาจล้นฟ้า
สามารถสังหารใครก็ได้
ยัดข้อหาให้ใครก็ได้
แต่เขาก็จะทำเพราะปราชญ์หญูไม่ได้ให้คุณค่าของคนที่อาย
แต่ให้คุณค่าของคนที่คุณธรร

อายุยืน100 ปีรับใช้กังฉินมีประโยชน์หร
แต่อายุเพียง24 (ยี่เอ๋งอายุได้24 ) แต่สามารถทำประโยชน์ให้แผ่นดิน
จรรโลมความถูกต้องเพื่อให้เหล่าขุนนางได้เห็นเป็นตัวอย่าง
นี่แหละคือความถูกต้องในทัศนะของปราชญ์

การเปลือยกายด่าโจโฉจึงบังเกิดขึ้น
เป็นการประจานผู้นำ
เป็นการท้าทายแบบไม่ยำเกรงผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ
โดยไม่กลัวต่อการตาย

ด้วยเหตุนี้โจโฉจึงแก้เล่นเกมการเมือง
ด้วยการใช้ยี่เอ๋งไปกล่อมเล่าเปียว
หากสำเร็จก็ได้เล่าเปียวเป็นแนวร่วม
หากไม่สำเร็จก็เป็นการทำลายชื่อเสียง
ดิสเครดิตของยี่เอ๋งคนกล้า
ให้คนทั้งโลกรับรู้ถึงความดีแต่ปาก

การกำจัดคนที่มีชื่อเสียงที่ดีงาม
ีจะทำให้ชื่อเสียงของโจโฉหม่นหมองฐานะประหารคนดี
เพียงเพราะเขาเอาความจริงมาประจาน
แม้ตายชื่อเสียงยังคงอยู่

แต่การทำให้ชื่อเสียงหม่นหมองแล้วค่อยกำจัด
ย่อมทำให้คนผู้นั้นหมดความน่าศรัทธา
หมดคุณค่าในการนับถือ
เขาจะสูญเสียทั้งชีวิตและชื่อเสียง
สุดท้ายก็จะถูกลืม

ทว่ากว่าจะโจโฉจะแก้เกมการเมืองนี้ได้
ก็เล่นเอาหน้าชาเพราะถูกด่าต่อหน้าสาธารณชน

ขอบคุณข้อมูลจาก อ.เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป ผู้เชี่ยวชาญสามก๊ก